Bim Posted on 6:30 am

“เอ็นเข่าขาด” จะยังสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ แล้วจะออกแบบไหนดี

ความทุกข์ใจอย่างหนึ่งของคนที่เคยประสบอุบัติเหตุจน เอ็นเข่าขาด ก็คือหลังจากผ่านการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ในช่วงแรกการเดินเหินจะไม่สะดวก ต้องพักรักษาตัวเป็นเวลายาวนาน ถ้าอยู่ในช่วงวัยทำงานอาจต้องทำใจว่าจะโดนไล่ออกกันเลยทีเดียว พอผ่านช่วงพักฟื้นไปแล้ว ก็ยังมีข้อห้ามเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นมาอีก ส่วนใหญ่แพทย์ผู้ดูแลจะห้ามไม่ให้เล่นกีฬาหนักๆ อีก เช่น รักบี้ ฟุตบอล วิ่งระยะไกล เป็นต้น อะไรที่เคยทำได้ก็ต้องลดระดับลงมา

การออกกำลังกายสำหรับคน “เอ็นเข่าขาด”

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีกิจกรรมโลดโผนมากนัก หากต้องประสบกับภาวะเอ็นเข่าขาด การปรับตัวหลังจากนั้นก็ยังไม่ค่อยน่าอึดอัดมากเท่าไร แต่ถ้าเดิมทีเป็นนักกีฬาหรือเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งตลอดเวลา งานนี้จะสร้างความห่อเหี่ยวใจให้ไม่น้อยเลย ครั้นจะเปลี่ยนไปเล่นกีฬาอย่างอื่น เชื่ออย่างยิ่งเลยว่ามันก็ไม่ตอบโจทย์ความชื่นชอบอยู่ดี แล้วแบบนี้จะหาทางออกได้อย่างไร

เอ็นเข่าขาด

มันมีเคล็ดลับหนึ่งที่แม้แต่ในวงการแพทย์ก็นำมาใช้กัน และสามารถประยุกต์ใช้กับคนที่มีภาวะเอ็นเข่าขาดได้ด้วย อย่างแรกเลยคือ ต้องลืมเกี่ยวกับข้อห้ามต่างๆ ไปก่อน ลืมความเชื่อที่ว่า เราจะไม่สามารถออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ขาหนักๆ ได้อีกแล้ว เพื่อไม่ให้มีการสร้างกำแพงปิดกั้นตัวเอง แล้วเปลี่ยนไปโฟกัสเรื่องการหาทางเสริมกล้ามเนื้อเพื่อพยุงเข่าแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะพักฟื้นมานานพอสมควรแล้ว วิธีการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อช่วยพยุงร่างกายในกรณีที่เอ็นเข่าขาด ให้เริ่มจากยกเวทน้ำหนักไม่มาก แต่เน้นจำนวนก่อน จากนั้นจึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม จุดของกล้ามเนื้อที่ต้องเพิ่มคือ ส่วนของต้นขาทั้งหมด ทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง และกล้ามเนื้อน่อง สองส่วนนี้คือจุดที่สำคัญ หากแข็งแรงแล้วจะช่วยซัพพอร์ตแรงที่จะไปลงเข่าได้มาก หลายคนเมื่อฝึกอย่างมีวินัยก็สามารถกลับไปเล่นกีฬาที่ตัวเองชื่นชอบได้อีก

ติดตามอาหารเพื่อสุขภาพ และติดตามข่าวสุขภาพอื่นๆ เช่น 5 เทคนิค “กินเจ” อย่างไร? ให้ไม่ทรมานและไม่ทำร้ายตัวเอง