Bim Posted on 6:30 am

โทษของสเตียรอยด์ ยาดี ที่ขึ้นชื่อว่าสามารถรักษาได้ครอบจักรวาล

ทางการแพทย์ได้ทำการสังเคราะห์สเตียรอยขึ้นมา เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย แต่ด้วยความรุนแรงของสเตียรอยด์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใช้นั้น มีความรุนแรงมากกว่าฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นมา การนำสเตียรอยด์สังเคราะห์มาใช้ จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในทางการแพทย์ที่นำมารักษาผู้ป่วยยังต้องมีความจำเป็นต้องที่จะใช้กับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น จะไม่ใช้สเตียรอยด์พร่ำเพื่อ เพราะ โทษของสเตียรอยด์ มีความร้ายแรงมาก พอ ๆ กับคุณประโยชน์อันหลากหลายที่อยู่ในตัวของสเตียรอยด์

โทษของสเตียรอยด์

สเตียรอยด์ คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเพื่อปรับสมดุล หรือทำหน้าควบคุมให้กับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างปกติ อาทิเช่น เมื่อร่างกายของเรามีอาการอ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ ร่างกายของเราจะรู้สึกกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีอาการอ่อนเพลีย หรือปวดเมื่อยร่างกายแต่อย่างใด แต่มีข้อแม้ตรงที่ร่างกายของเราสามารถผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ได้เพียงน้อยนิด

สเตียรอยด์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมานั้น สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยได้ ในเรื่องของการต้านการอักเสบ  มีฤทธิ์ในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย หากนำสเตียรอยด์มาใช้จะมีผลกระทบต่อทุก ๆ ระบบของร่างกาย และนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากใช้ “สเตียรอยด์” อย่างไม่ถูกต้อง

โทษของสเตียรอยด์

ตัวอย่าง โทษของสเตียรอยด์

  1. การทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์จะกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถติดเชื้อได้ง่าย
  2. เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารทะลุ เนื่องจากการทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ส่งผลให้กระเพาะอาหารบางลง
  3. ผู้ป่วยที่เคยได้รับสเตียรอยด์ในปริมาณสูงมาโดยตลอดเป็นเวลานาน จนร่างกายรู้สึกเสพติดสารสเตียรอยด์ จะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย คือ มีอาการเบื่ออาหาร หงุดหงิด คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ หรือปวดศีรษะ เป็นต้น
  4. “คุชชิ่ง ซินโดรม (Cushing Syndrome)” คือ ชื่อเรียกแทนลักษณะของที่ใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มานาน และมากเกินขนาด จะทำให้ผู้ที่ติดสเตียรอยด์มีลักษณะดังนี้
    • ผู้ป่วยจะมีใบหน้าที่ กลม มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์
    • ด้านหลังของต้นคอมีลักษณะเป็นหนอก หรือมีไขมันพอกที่ด้านหลังของลำคอ
    • มีรอยแตกที่ผิวหนัง ซึ่งจะเห็นว่ามีรอยม่วง – แดง ขึ้นตามบริเวณผิวหนังหน้าท้อง หรือต้นขา

หากผู้ป่วยมีลักษณะของ “คุชชิ่ง ซินโดรม (Cushing Syndrome)” จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคไต สูงมาก

ผู้ป่วยที่ทานยาที่มีสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน จนทำให้ร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่สามารถสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติได้ ดังนั้น หากผู้ป่วยหยุดทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อย่างกระทันหัน จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะช็อค จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยต้องการที่จะหยุดยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ควรพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย

ติดตามข่าวสุขภาพ และติดตามความรู้เรื่องยาอื่นๆ เช่น สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง ที่ไม่น้อยหน้ากระเจี๊ยบเขียวแน่นอน