โรคแพนิค
ออม Posted on 5:01 pm

สัญญาณเล็ก ๆ ว่าฉันเริ่มกลัว “โรคแพนิค”เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีอะไรบ้าง มาดูกัน

โรคแพนิค เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ความกลัว ความวิตกกังวล เป็นภาวะความรู้สึกที่อยู่ภายใต้จิตใจ มีความซับซ้อน เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ บางคนเกิดจากแรงกระตุ้นในวัยเด็ก อาจเคยพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนจิตใจ บางคนเกิดความกลัวจากจิตใต้สำนึก หรือทางกายภาพ เช่น ความสูง ความลึก เมื่อเราเกิดความกลัว ร่างกายของเราจะเกิดความเครียด และจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง คือ ใจเต้นเร็ว ตัวสั่น หรือเหงื่อออก

เมื่อเกิดความกลัวการหลั่งอะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine) ในร่างกายจึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อะดรีนาลีนเข้าสู่กระแสเลือด และเพิ่มการทำงานของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจจึงเร็วขึ้น ความกลัวจึงไม่ใช่ดีอีกต่อไป หากเรามีความกลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อร่างกาย เตือนเราว่าเริ่มมี “สัญญาณเล็ก ๆ ว่าฉันเริ่มกลัว” คุณอาจเสี่ยง “โรคแพนิค

โรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิค คือ การที่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับตัวคุณ อาการเหล่านั้น คือ
⦁ อาการหัวใจเต้นเร็ว
⦁ อาการใจสั่น
⦁ หายใจไม่อิ่ม
⦁ เหงื่อออกท่วมตัว
⦁ ควบคุมตัวเองไม่ได้
⦁ เบลอ ๆ

อาการดังกล่าว มักเกิดประมาณ 20 นาที แล้วร่างกายจะกลับมาสู่ปกติ เป็นหลาย ๆ ครั้ง และมีอาการเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อาจเกิดอาการแพนิคสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง เมื่อไปพบคุณหมอตอนมีอาการ แต่อาการแพนิคอาจหายก่อนที่จะพบคุณหมอ ทำให้ไม่ตรวจพบอาการผิดปกติใด ๆ เนื่องจากระยะเวลาการเกิดของอาการแพนิคไม่ยาวนาน และหายเองได้
บางรายอาจมีสาเหตุในการกระตุ้นอาการดังกล่าว (เช่น ความกลัว) แต่บางรายก็ไม่มีสิ่งใดมากระตุ้น เช่น กำลังดูหนัง รับประทานอาหาร หรือขับรถ ก็สามารถเกิดอาการแพนิคได้

โรคแพนิค” เกิดได้กับคนกลุ่มไหนบ้าง ?

⦁ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
⦁ แต่พบได้มากในวัยทำงาน ช่วงอายุ 25 – 30 ปี

สาเหตุของ “โรคแพนิค”

⦁ ไม่ทราบสาเหตุ
⦁ อาจเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเร็วเป็นพิเศษ หรือทำงานไวกว่า

ปกติ เพราะระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การขับเหงื่อ การหายใจ ในเวลาที่เราตกใจ หรือเกิดความกลัวมาก ๆ

การรักษาเบื้องต้นด้วยจิตบำบัด

หากเรามีอาการแพนิค ข้างต้นควรปฏิบัติดังนี้

⦁ เอาชนะความกลัวที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยการมีสติ
⦁ พูดคุย หรือเล่าให้คนข้าง ๆ ฟัง อย่าเก็บไวคนเดียว เพราะจะยิ่งทำให้เรามีความเครียดเพิ่มขึ้น
⦁ อาจเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว

“อาการแพนิค” มีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่ไม่ใช่โรคหัวใจ “หัวใจเต้นเร็ว ตึกๆๆๆ เหมือนจะกระเด็นออกมาข้างนอก” เป็นอาการที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะ มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อมีความกลัวเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราบ่อยขึ้น อย่าลืมสังเกตตัวเองกันนะ ว่ามีอาการแพนิคเกิดขึ้นกับตัวเองหรือเปล่า

ติดตามวิธีการรักษาสุขภาพ และ เรามีข้อคิดเรื่องสักมาแนะนำเพื่อความปลอดภัยของคุณ