Bim Posted on 6:30 am

ยืด เหยียดง่ายๆ ช่วยรักษาอาการของโรค “หมอนรองกระดูกเสื่อม”

หมอนรองกระดูกเสื่อม เป็นโรคชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สามารถเกิดโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่เสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็คือ ผู้สูงอายุ หรือคนชรา นอกจากผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในโรคนี้อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มคนที่ต้องยืนเป็นเวลานาน นั่งเป็นเวลานาน หรือต้องเดินเป็นเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมงจากการทำงาน เพราะสาเหตุที่เกิดจากการยืน นั่ง เดิน  เป็นเวลานาน ๆ นั้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้ง่าย 

หมอนรองกระดูกเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะมีการแสดงออกของอาการอย่างชัดเจน โดยลักษณะอาการที่แสดงออกว่าคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม คือ

  • แสดงอาการปวดที่ต้นคอ และร้าวมาที่ไหล่
  • รู้สึกปวดหน่วง ๆ บริเวณเอว หรือรอบ ๆ เอว 
  • ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดร้าวมาที่แขน หรือปวดร้าวลงมาที่ขาได้
หมอนรองกระดูกเสื่อม

หากคุณมีกำลังมีอาการเหล่านี้ ที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ควรที่จะหันกลับมาดูและตัวเองโดยเร็ว เพราะ หากรักษาอย่างถูกวิธี และรวดเร็ว ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกิดจากการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้

การออกกำลังกาย ยืด เหยียด อย่างถูกวิธีช่วยรักษา หมอนรองกระดูกเสื่อม

การที่จะให้ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม มาขยับ เอี้ยวตัว เพื่อที่จะออกกำลังกาย ผู้ป่วยบางท่านอาจคิดว่า ยิ่งออกกำลังกาย ยิ่งขยับ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้น ความคิด !! นี้ เป็นความคิดที่ผิดนะคะ เพราะ การขยับตัวเพื่อออกกำลังกายอย่างถูกวิธีนั้น จะช่วยรักษาอาการปวดที่เกิดจากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ เพราะ การที่เราขยับเพื่อออกกำลังกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังของเรา มีความแข็งแรงมากขึ้น

หมอนรองกระดูกเสื่อม

ออกกำลังกายท่าง่าย ๆ เริ่มที่

  • การยืดกล้ามเนื้อต้นคอ : ทำในท่าที่ผ่อนคลาย โดยการก้มศีรษะไปข้างหน้าให้คางชิดกับคอของเรา นับ 1-10 วินาที อย่างช้า ๆ ท่าต่อไปหมุนคอเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ โดยนับ 1-10 วินาทีเช่นกัน
  • ยกขาแนบชิดอก : โดยการนอนรอบลงกับพื้น และยกขาขึ้นมา 1 ข้าง ทำให้เข่าชิดกับหน้าอกของเรา ท่านี้นับค้างไว้ข้างละ 15 วินาที ทำสลับกันทั้งสองข้างไปมาประมาณข้างละ 10 ครั้ง
  • ท่าบริหารกล้ามเนื้อเชิงกราน : ให้นอนราบลงกับพื้น และมือทั้งสองข้างแนบชิดติดกับลำตัว หลังจากนั้นให้เกร็งหน้าท้อง นับค้างไว้ประมาณ 10 วินาที และผ่อนคลายตัวเอง โดยทำประมาณ 10 ครั้ง

ติดตามอาหารเพื่อสุขภาพ และติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เช่น ห่างไกล “โรคอ้วน” ได้ง่าย ๆ เพียงเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน