Bim Posted on 6:30 am

ทำความรู้จักกับสาเหตุและวิธีรักษาอาการ “ประจำเดือนมาไม่ปกติ”

หลายคนอาจเคยเจอกับปัญหาของการที่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ บางคนมาเดือนเว้นเดือน บางคนมาหนึ่งเดือนเว้นไปอีกสามเดือน รู้ทั้งรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นไม่ปกติ เพราะขึ้นชื่อว่าประจำเดือน ก็ต้องมาทุกเดือน แต่บางคนไม่ทราบถึงสาเหตุของการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ แต่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการขาด ๆ หาย ๆ ของการเป็นประจำ 

โดยปกติแล้วรอบเดือนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  แต่จะอยู่ในช่วง 21-36 วัน โดยการนับจากวันแรกของการเป็นประจำเดือน เพราะ ประจำเดือน คือ เยื่อบุของโพรงมดลูกที่ตายแล้ว และสลายตัวหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน หากประจำเดือนมาแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือประจำเดือนมาไม่ปกติภายในโพรงมดลูกอาจเกิด  การสะสมของเยื่อบุของโพรงมดลูกที่ไม่ได้หลุดลอกออกมาทุกเดือน

ประจำเดือนมาไม่ปกติ

สาเหตุของ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ที่ไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์

  1. ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีความผิดปกติ
  2. การออกกำลังกายที่หนักเกินไป อาจส่งผลต่ออระดับฮอร์โมนเพศในร่างกาย
  3. มีถุงน้ำในรังไข่จำนวนหลายใบ
  4. มีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์
  5. มีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์
  6. เคยแท้งลูก และได้รับการขูดมดลูก
  7. เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคของต่อมหมวกไต โรคของต่อมไธรอยด์ และโรคของตับอ่อน เป็นต้น
  8. เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับมดลูก เช่น เนื้องอกในมดลูก 
  9. พบเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
  10. เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง
  11. รับประทานยาคุมนานเกินไป
  12. เป็นโรควิตกกังวล 
  13. เกิดจากความเครียด ความเครียดซึ่งเกิดจากการทำงาน หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน

ผลเสียของการที่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  1. มวลกระดูกลดลง หรือเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย
  2. ทำให้มีลูกยาก เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาขึ้น จากการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  3. ร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติ อาจส่งผลต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
  4. เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่มดลูก
ปวดท้องประจำเดือน

การดูแลตนเอง

  1. เข้าพบสูตินรีแพทย์หากพบความผิดปกติของการมีประจำเดือน
  2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์
  3. ดูแลเรื่องน้ำหนักไม่ให้มาก หรือน้อยกว่าเกณฑ์
  4. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  5. ออกกำลังกายอย่างพอดีไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป
  6. หางานอดิเรกทำเพื่อให้ร่างกายไม่เกิดความเครียด หรือเกิดความกังวล
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ

วิธีการรักษา

  1. รับประทานยาคุมกำเนิด เพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกาย แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน
  2. รับประทานฮอร์โมนเสริม เพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ลดการสะสมของเยื่อบุในโพรงมดลูก
  3. รักษาโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากฮอร์โมนเพศ ที่ผู้ป่วยเป็นโรคประจำตัวอยู่ก่อน

ติดตามอาหารเพื่อสุขภาพ และติดตามข่าวสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะ กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) อันตรายใกล้ตัวมากกว่าที่คิด!