Bim Posted on 6:30 am

รู้มั้ยว่าเจ้า “โซเดียม” ที่เราพยายามเลี่ยง ที่จริงแล้วหลบอยู่ตรงไหนบ้าง

หลายคนระวังเรื่อง โซเดียม โดยการพยายามไม่ปรุงอาหารเพิ่ม ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ หรือแม้แต่ข้าวราดแกงก็เลี่ยงไม่เติมน้ำปลาพริก ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากๆ ต่อการดูแลสุขภาพ เพราะเรากำลังจะชี้ให้คุณเห็นว่าอาหารรอบกายทั้งหมดของเรานั้นผ่านการปรุงรสมาแล้วอย่างโชกโชน เราได้รับปริมาณโซเดียมเพียงพอต่อร่างกายต้องการแล้วโดยไม่ต้อง “ปรุงเพิ่ม” แต่อย่างใด

เกลือทะเล VS เกลือโต๊ะ

อันที่จริงแล้วระหว่างเกลือโต๊ะและเกลือทะเล มีคุณค่าทางอาหารพอๆ กัน เกลือโต๊ะก็คือเกลือจากโรงงานที่ผ่านกระบวนการผลิตทั้งหลายแบรนด์ที่เราเห็นอยู่ในท้องตลาด ส่วนเกลือทะเลก็มีทั้งแบบที่เป็นผลึกเกลือเม็ดใหญ่ และแบบที่ผ่านกระบวนการขัดสีจนเป็นผงละเอียดคล้ายเกลือโต๊ะ แม้เกลือทะเลแบบผลึกที่ไม่ผ่านการขัดสีจะยังมีแร่ธาตุอื่นปะปน ทำให้มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า ทว่าเมื่อนำมาใช้ปรุงอาหารจริง จะพบว่าการทำอาหารจานหนึ่งให้มีรสชาติเค็มกำลังดี คุณต้องใช้ผลึกเกลือปริมาณมากกว่าปกติเนื่องจากเค็มน้อยกว่าเกลือที่ผ่านกระบวนการ ดังนั้นในท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้เกลือโต๊ะหรือเกลือทะเล ก็จะได้รับปริมาณโซเดียมที่ใกล้เคียงกันอยู่ดี

เกลือมี โซเดียม

หากมองในแง่ของสารไอโอดีน แน่นอนว่าย่อมมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่ง ทว่าเมื่อเรามองย้อนกลับไปในอาหารประเภทต่างๆ อาหารปรุงสุก อาหารแปรรูป นม เครื่องดื่ม ฯลฯ ทุกอย่างล้วนมีเกลือเป็นส่วนผสม และนั่นจึงเป็นสาเหตุให้แม้เกลือจะมีประโยชน์ แต่ก็กลายเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นสำหรับร่างกายได้ง่ายๆ

เราควรหลีกเลี่ยง โซเดียม เกินกำหนดอย่างไร

  1. เลี่ยงอาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปนั้นมีเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก นั่นเพราะเกลือเป็นส่วนสำคัญในการถนอมอาหารแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง เบคอน ไส้กรอก ของดอง ไปจนถึงอาหารแช่แข็ง ทั้งหมดนี้มีการเติมเกลือเข้าไปในกระบวนการ ดังนั้นเมื่อนำมาปรุงอาหารก็ไม่ควรเพิ่มรสเค็มซ้ำอีก

อาหารแปรรูป แหล่งของ โซเดียม
  1. เลี่ยงเครื่องปรุงรสที่มากเกินไป

รู้หรือไม่ว่าในเครื่องปรุงรส ซอสปรุงรสที่ใช้ในกระบวนการปรุงขั้นแรก อาทิ ซีอิ๊ว ซอสผัด ซอสหอยนางรม ซอสมายองเนส ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ มีโซเดียมเป็นส่วนผสมในปริมาณมากอยู่แล้ว คุณสามารถตรวจเช็คได้ข้างฉลากขวด ซึ่งจะทำให้พบความจริงว่าซอสบางประเภทมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบขึ้นไปในระดับ % เลยทีเดียว ดังนั้นความเชื่อที่ว่า ใส่ซีอิ๊วแทนน้ำปลาเพื่อสุขภาพ…อาจจะไม่ถูกต้อง ทางที่ดีปรุงรสให้จบตั้งแต่ตอนทำอาหารดีกว่า พยายามปรับนิสัยการปรุงรสจัดก่อนรับประทาน หรือตัดพริกน้ำปลาออกไปให้เป็นนิสัยก็ช่วยได้

  1. ในขนมปังมีเกลืออยู่แล้ว ไม่ควรเพิ่มรสมากเกินไป

หากเราพูดถึงขนมปังที่เป็นอาหาร ก็มักจะมาในรูปแบบแซนด์วิช พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ ซึ่งอันที่จริงอาหารกลุ่มนี้มีการเติมเกลือลงไปแทบทุกส่วน เราลองแยกองค์ประกอบออกมาก็จะพบว่า ในการทำขนมปังมีเกลือ ในซอสที่ใช้ทาขนมปังก็มีเกลือ ในผักดองที่ใช้กินเป็นเครื่องเคียงก็มีเกลืออีก แล้วก่อนรับประทานคุณยังจะเพิ่มซอสมัสตาร์ด มะเขือเทศ มายองเนส ชโลมลงไปอีก ดังนั้นก่อนจะได้รับโซเดียมมากเกินไป ลองฝึกกินแบบไม่เติมซอสเพิ่ม เอาเท่าที่เชฟเสิร์ฟมาเลยก็ดีนะ

  1. เนื้อสัตว์และพืชผักตามธรรมชาติมีโซเดียมอยู่แล้ว

บางคนอาจไม่รู้ว่าเนื้อสัตว์ดิบๆ ผักสดๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการใดเลยก็มีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้วเช่นกัน อย่างที่เรายืนยันในตอนต้นว่าร่างกายของทุกสิ่งมีชีวิตต้องการโซเดียม ดังนั้นต่อให้คุณรับประทานอาหารแบบไร้เครื่องปรุงโดยสิ้นเชิงก็ไม่ขาดโซเดียมที่จำเป็นแน่นอน เวลาปรุงอาหารก็ลดๆ เพลาๆ ปริมาณเกลือลงบ้างดีกว่าสิ่งต้องจำไว้เสมอคือ อาหารทุกอย่างมีปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกายอยู่แล้ว การติดรับประทานรสจัดแล้วปรุงเพิ่ม เท่ากับเพิ่มความเสี่ยง เพิ่มภาระให้ร่างกาย ถ้าเป็นไปได้ลองอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อสินค้าทุกครั้ง หากมีสินค้าประเภทที่โซเดียมต่ำก็ควรลองใช้ดู ฝึกกินเกลือให้น้อยลงลิ้นของคุณจะรู้สึกชินไปเอง

ติดตามข่าวสุขภาพ และติดตามข่าวสุขภาพอื่นๆ เช่น จริงหรือไม่? เปลี่ยนผ้าปูที่นอนบ่อย ๆ แล้วมันจะดีต่อสุขภาพ