Bim Posted on 6:30 am

วิธี การสร้างสมาธิให้เด็ก ยุคใหม่กับปัญหาที่พบบ่อยในปัจจุบันนี้

ในยุคที่เด็กและเยาวชนเติบโตท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีล้ำยุค การอบรมเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก ทั้งทางกาย ใจ และสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่กับเด็ก ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ วันนี้เลยจะมาแนะนำวิธี การสร้างสมาธิให้เด็ก หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดตอนนี้

การสร้างสมาธิให้เด็ก ยุคใหม่

ปัญหาของเด็กที่พบบ่อยขึ้นและเป็นความไม่สบายใจของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ สมาธิสั้น โดยมีอาการขาดสมาธิ ขาดการไตร่ตรองและอยู่ไม่นิ่ง โดยอาจเป็นได้ทั้งสมาธิสั้น และสมาธิสั้นเทียมซึ่งหมายถึง เด็กมีปัญหาบางอย่างที่ซุกซ่อนอยู่จนทำให้แสดงออกเหมือนคนสมาธิสั้น

การสร้างสมาธิให้เด็ก

โดยเฉพาะเด็กในยุคที่เกิดและเติบโตมาพร้อมกับสังคมไอที มีอินเทอร์เน็ตที่เป็นเสมือนตัวย่อโลกและทุกเรื่องราวให้มาอยู่รวมกัน ผ่านเพียงปลายนิ้วสัมผัส และสายตาที่จ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกสถานที่และทุกช่วงเวลา ซึ่งแน่นอนว่าประสาทสัมผัสของเด็กย่อมคุ้นเคยกับความเคลื่อนไหวที่มาพร้อมภาพและเสียงในลักษณะที่รวดเร็ว จึงทำให้เด็กหลายคนไม่สามารถจดจ่อสมาธิกับสิ่งใดได้นานๆ ขาดความอดทน ไม่รู้จักรอคอย ฉุนเฉียวง่าย 

การแก้ไขปัญหาเด็กสมาธิสั้น คือการปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาและการปรับพฤติกรรมของผู้ปกครองที่มีความเข้าใจ ส่วนกลุ่มที่มีอาการสมาธิสั้นเทียมนั้น ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ง่ายและได้ผล ก็คือ การใช้วิธีสติบำบัด หรือทำสมาธิเพื่อการผ่อนคลาย ด้วยการนั่งนิ่งๆ จับความรู้สึกทางกาย และติดตามใจหรือความคิดของตนเอง  และการใช้จิตวิทยาเชิงบวกเพื่อบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึกให้แก่เด็ก

การสร้างสมาธิให้เด็ก

ตัวอย่างหนึ่งในรั้วโรงเรียนที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว จากกิจกรรมจิตศึกษาที่โรงเรียนพรหมประสาทราษฎร์นุกูล จังหวัดสุรินทร์  ในปีการศึกษา 2560 โดย คุณครูสุเดช  คงนุรัตน์ รองผอ. ในขณะนั้น ได้แก่ การล้อมวงนั่งสมาธิบนพื้นห้องก่อนเริ่มเรียนภาคเช้า และการนอนหงาย หลับตาบนพื้นห้องก่อนเรียนภาคบ่าย เพื่อสร้างสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจและผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย  นอกจากนี้ คือการที่ครูปรับท่าทีใหม่ โดยแสดงออกถึงความรัก ความจริงใจ และและใช้คำพูดด้านบวกกับเด็ก เลี่ยงคำตำหนิ บ่นว่า แล้วใช้คำแนะนำอย่างเมตตาและคำชื่นชมแทน 

ภายในเวลาหนึ่งปี หลังจากการทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดเผยว่า มีความเปลี่ยนแปลงกับเด็กนักเรียนอย่างเห็นได้ชัด คือ พฤติกรรมต่อต้านลดลงจนกระทั่งกลับกลายเป็นพฤติกรรมทางบวก เด็กรักครู กล้าคุยกับครู เด็กอยากมาโรงเรียน และรักโรงเรียน

คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ที่ไม่อยากเผชิญปัญหาลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือสมาธิสั้นเทียม ควรต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ กระทั่งลูกน้อยเข้าสู่วัยเตาะแตะ ( 0-3 ขวบ) และคำแนะนำที่สำคัญมากข้อหนึ่งจากกุมารแพทย์ก็คือ ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่าสองขวบดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ จอแทบเล็ต และโทรศัพท์มือถือ

ติดตามข่าวสุขภาพและติดตามข่าวสุขภาพอื่นๆ ได้อีก เช่น ประโยชน์ของน้ำตาล ต่อผิวพรรณ มีดีมากกว่าที่ทุกคนคิด