Bim Posted on 6:30 am

รู้หรือไม่! หากคุณเป็น โรคหอบหืด ก็สามารถออกกำลังกายได้

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากระบบหายใจที่มีความไวเกินของหลอดลม (Trachea)  ในการตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และอื่นๆ  แต่ในขณะเดียวกันโรคหอบหืดจะมีอาการหายใจลำบาก  แน่นหน้าอก  ไอ  หายใจลำบาก  มีเสียงดังหวีดๆ ฮืดๆ อาการจะเป็นบ่อยที่สุดในตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด  บางคนอาจจะเป็นแบบตลอดทั้งวัน  จะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค  เนื่องจากหลอดลมตีบ  และการอุดกลั้นของหลอดลม

วิธีการออกกำลังกายในผู้ที่เป็น โรคหอบหืด

วิธีการออกกำลังกายในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด  จะมีสิ่งที่ควรคำนึงในการวางแผนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี  และลดอัตราเสี่ยงให้อาการบรรเทาลง  ดังนี้

โรคหอบหืด
  1. ออกกำลังกายในที่ชื้น  เย็น  แห้ง  มักจะเกิดในช่วงเวลาเช้าและเย็น  รวมถึงในฤดูฝน ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอาการรุนแรงขึ้น การทำงานของหลอดลมจะหนักขึ้นเนื่องจากความชื้นในหลอดลมเพิ่มขึ้น
  2. การแนะนำหลักการ  FITT  ในการออกกำลังกายในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด  จะแบ่งวิธีการได้ดังนี้
  • F : Frequency  ควรออกกำลังกายอย่างต่ำ 3-4 วันต่อสัปดาห์  และเต็มที่จริงๆ  เอาแค่  5  วันต่อสัปดาห์  แต่ทั้งนี้เขาต้องมียาป้องกันติดตัวมาด้วยเพื่อความปลอดภัย  ส่วนในเวทเทรนนิ่ง  ในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดทำแค่อย่างต่ำ  2  วันต่อสัปดาห์
  • I : Intensity  ในแบบเวทเทรนนิ่ง  ใช้ความหนักปานกลาง  จะยกน้ำหนักแค่  10-15  ครั้งต่อเซต ส่วนแบบแอโรบิกการใช้ความหนักในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด  ให้ใช้ความหนักแบบ  Moderate  หรือออกกำลังกายระดับปานกลาง  สังเกตอาการของผู้ที่เข้ารับการออกกำลังกายด้วยวิธี Talk Test  หรือทดสอบจากการพูดคุย  สนทนากันเข้ามาเกี่ยวเพื่อสังเกตความเหนื่อยในแต่ละโหลดของโปรแกรม  ว่าหนักไหม  การพูดคุยกันแสดงความผิดปกติไหม
  • T : Time  ในเวทเทรนนิ่งตามกำลังที่ไหว  ในจำนวนที่ทำได้  ส่วนในแบบแอโรบิกระยะเวลาสัก 30-60  นาทีต่อวันกำลังดี  และมีเวลาพักระหว่างเซตสัก  10  นาทีเพื่อให้เขาได้ปรับการหายใจให้ทัน  พอรู้สึกดีขึ้นค่อยทำต่อ
  • T : Type  ชนิดออกกำลังกายในกรณีที่เป็นแอโรบิก  ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอยากให้เน้นที่ความไหวเป็นหลัก  เช่น  เดินเร็ว  ปั่นจักรยานแบบชิวๆ  แต่ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำเพราะความชื้นสูง  และเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต  ส่วนในเวทเทรนนิ่งเน้นออกกำลังกายมัดใหญ่  เช่น  กล้ามเนื้อส่วน  Quadriceps, Gastrocsoleus, Triceps  Brachii, Rhomboid, Deltoid, Pectoralis และ Biceps  Brachii  เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ติดกับมัดใหญ่ได้ทำงานเชื่อมโยงกัน
โรคหอบหืด

จริงๆ แล้วคนที่เป็นโรคหอบหืดสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ  แต่ต้องสังเกตอาการของตนเอง  หรือผู้ที่ออกกำลังกายว่าสภาพแวดล้อมที่ออกกำลังกายมีความเสี่ยงแค่ไหน  เช่น  อยู่ในที่แออัด  มีฝุ่น  ควันบุหรี่  หรือมีเกสรดอกไม้ฟุ้งหรือไม่  หากผู้ที่ออกกำลังกายได้รับยาป้องกันเพียงพอได้มากน้อยแค่ไหน  ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด  และในเวลาทำโปรแกรมใดๆ ห้ามกลั้นหายใจโดยเด็ดขาด  โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง  หรือแบบแรงต้าน (Resistance  Training) จะสามารถป้องกันภาวะเสี่ยงของโรคหอบหืดได้อีกระดับด้วย

อย่าลืมติดตามข่าวสุขภาพ และ“สิวอักเสบ” มันเกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรักษาที่ได้ผลจริง!